เมนู

อุทายี ข้อที่สาวกทั้งหลายของเราผู้อันทุกข์ท่วมทับแล้ว อันทุกข์ครอบงำแล้ว
เพราะทุกข์ใด เธอเหล่านั้นเข้ามาหาเราแล้วถามถึงทุกขอริยสัจ . . . ถามถึงทุกข-
สมุทัยอริยสัจ. . .ถามถึงทุกขนิโรธอริยสัจ. . . ถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา-
อริยสัจ เราอันเธอเหล่านั้นถามถึงทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจแล้ว ก็พยา-
กรณ์ให้ ยังจิตของเธอเหล่านั้นให้ยินดี ด้วยการพยากรณ์ปัญหา นี้แล ธรรม
ข้อที่สี่ อันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา
แล้วพึ่งเราอยู่.

ธรรมเป็นเหตุให้ทำความเคารพข้อที่ 5


[333] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสติปัฎฐานสี่
ดูก่อนอุทายี ภิกษุไม่ธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี
สัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็น
เวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม
อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงกำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลก
เสียได้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว เจริญ
สติปัฏฐานสี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่ง
อภิญญา [พระอรหัต] อยู่.
[334] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญสัมมัปปธานสี่

ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ยังความพอใจให้เกิด พยายาม ปรารภความ
เพียร ประคองจิตไว้ เริ่มตั้งความเพียร เพื่อยังอกุศลธรรมอันลามกที่ยังไม่เกิด
มิให้เกิดขึ้น เพื่อละอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อยังกุศลธรรมที่ยัง
ไม่เกิดให้เกิดขึ้น เพื่อความตั้งมั่น เพื่อความไม่เลือนหาย เพื่อความมียิ่ง เพื่อ
ความไพบูลย์ เพื่อความเจริญ เพื่อความสมบูรณ์แห่งกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญสัมมัปป-
ธานสี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญา
อยู่.
[335] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอิทธิบาทสี่
ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิ
และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิ และปธานสังขาร
เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิ และปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทอัน
ประกอบด้วยวีมังสาสมาธิ และปธานสังขาร ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอิทธิบาทสี่นั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[336] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอินทรีย์ห้า
ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ
ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญวิริยินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้
เจริญสตินทรีย์ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธินทรีย์
ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญินทรีย์ที่จะให้ถึงความ

สงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่
เราบอก แล้วเจริญอินทรีย์ห้านั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุ
บารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[337] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญพละห้า ดูก่อน
อุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัทธาพละที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึง
ความตรัสรู้ เจริญวิริยพละ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้
เจริญสติพละ ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญสมาธิพละ
ที่จะให้ถึงความสงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ เจริญปัญญาพละ ที่จะให้ถึงความ
สงบระงับ ให้ถึงความตรัสรู้ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่
เราบอก แล้วเจริญพละห้านั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอัน
เป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[338] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญโพชฌงค์เจ็ด
ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัย
วิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญธัมมวิจยสัมโพชฌงค์
อันอาศัยวิเวก อันอาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญ-
วิริยสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการ
สละคืน เจริญปีติสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ
น้อมไปในการสละคืน เจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ
อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก
อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์

อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในการสละคืน ก็เพราะ
สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว เจริญโพชฌงค์ 7 นั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[339] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเจริญอริยมรรคมีองค์
แปด ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้เจริญสัมมาทิฏฐิ เจริญสัมมาสังกัปปะ
เจริญสัมมาวาจา เจริญสัมมากัมมันตะ เจริญสัมมาอาชีวะ เจริญสัมมาวายามะ
เจริญสัมมาสติ เจริญสัมมาสมาธิ ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตาม
ปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญอริยมรรคมีองก์แปดนั้นแล สาวกของเราเป็น
อันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[340] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายของเราแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญวิโมกข์ 8
คือ
ผู้ได้รูปฌานย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง.
ผู้ไม่มีรูปสัญญาในภายใน เห็นรูปในภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง.
ผู้น้อมใจเชื่อว่า กสิณเป็นของงามอย่างเดียว นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม.
ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะด้วยมนสิการว่าอากาศหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงรูปสัญญา เพราะดับปฏิฆสัญญา เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่.
ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้
เพราะล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า.

ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะด้วยมนสิการว่า อะไร ๆ ก็ไม่มี เพราะ
ล่วงวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก.
ผู้ที่บรรลุเนวลัญญานาสัญญายตนะ เพราะล่วงอากิญจัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด.
ผู้ที่บรรลุสัญญาเวทยิตนโรธ เพราะล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนะ
โดยประการทั้งปวง นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว เจริญ
วิโมกข์แปดนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมาก จึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่ง
อภิญญาอยู่.
[341] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญอภิภายตนะ [คือ
เหตุเครื่องครอบงำธรรมอันเป็นข้าศึกและอารมณ์] 8 ประการ คือ
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิวพรรณ
ดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรา
รู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิว
พรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้
ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก ซึ่งมีผิว
พรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้
ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม.

ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่ใหญ่ ซึ่งมีผิว
พรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า
เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณ
เขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว ดอกผักตบอันเขียว มีวรรณอันเขียว เขียวล้วน
มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสีมีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อัน
เขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญ
ในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเขียว มีวรรณเขียว เขียวล้วน มีรัศมีเขียว
ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว ย่อมมีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรา
รู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณ
เหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์อันเหลือง มีวรรณเหลือง
เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยง
ทั้งสองข้าง อันเหลือง มีวรรณเหลือง เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันเหลือง มีวรรณเหลือง
เหลืองล้วน มีรัศมีเหลือง แม้ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มี
ความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณ
แดง แดงล้วน มีรัศมีแดง ดอกบานไม่รู้โรยอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน
มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อัน
แดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน

อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันแดง มีวรรณแดง แดงล้วน มีรัศมีแดง
ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้
เราเห็น อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด.
ผู้หนึ่งมีความสำคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณ
ขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ดาวประกายพรึกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน
มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่กำเนิดในเมืองพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้าง อัน
ขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสำคัญใน
อรูปภายใน เห็นรูปภายนอกอันขาว มีวรรณขาว ขาวล้วน มีรัศมีขาว ฉัน
นั้นเหมือนกัน ครอบงำรูปเหล่านั้นแล้ว มีความสำคัญอย่างนี้ว่า เรารู้ เราเห็น
อันนี้เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญ
อภิภายตนะ 8 นั่นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็น
ที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[342] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญกสิณายตนะ 10
คือ
1. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปฐวีกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ใน
ทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
2. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอาโปกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
3. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งเตโชกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.

4. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวาโยกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
5. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งนีลกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ใน
ทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
6. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งปีตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ใน
ทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
7. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโลหิตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
8. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งโอทาตกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
9. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งอากาสกสิณทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
10. ผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่งวิญญาณกสินทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ในทิศน้อยทิศใหญ่ หาประมาณมิได้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอก แล้วเจริญกสิณา-
ยตนะ 10 นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีเป็นที่สุดแห่ง
อภิญญาอยู่.
[343] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้วย่อมเจริญฌานสี่.
ดูก่อนอุทายี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ เธอทำกายนี้
แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศ

ไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง
ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนพนักงานสรงสนาน หรือลูกมือพนักงานสรงสนาน
ผู้ฉลาด จะพึงใส่จุรณสีตัวลงในภาชนะสำริด แล้วพรมด้วยน้ำหมักไว้ ก้อน
จุรณสีตัวนั้นซึ่งยางซึมไปจับติดกันทั่วทั้งหมด ย่อมไม่กระจายออก ฉันใด
ภิกษุก็ฉันนั้นแล ทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติ และสุข
อันเกิดแต่วิเวก ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุข
อันเกิดแต่วิเวกจะไม่ถูกต้อง.
[344] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความ
ผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก
วิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เธอทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่ม
ซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอ
ทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง ดูก่อนอุทายี เปรียบ
เหมือนห้วงน้ำลึก มีน้ำปั่นป่วนไม่มีทางที่น้ำจะไหลไปมาได้ ทั้งในด้าน
ตะวันออก ด้านตะวันตก ด้านเหนือ ด้านใต้ ทั้งฝนก็ไม่ตกเพิ่มตามฤดูกาล
แต่สายน้ำเย็นพุขึ้นจากห้วงน้ำนั้นแล้ว จะพึงทำห้วงน้ำนั้นแหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็น ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งห้วงน้ำนั้นทั้งหมด ที่น้ำ
เย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่น
เอิบอิ่มซาบซ่านด้วยปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกาย
ของเธอทั่วทั้งตัว ที่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิจะไม่ถูกต้อง.
[345] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติ มี
สัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะ
ทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข เธอทำ

กายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขอันปราศจากปีติ ไม่มีเอกเทศไหนๆ
แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง ดูก่อนอุทายี เปรียบ
เหมือนในกอบัวขาบ ในกอบัวหลวง หรือในกอบัวขาว ดอกบัวขาบ ดอก
บัวหลวง หรือดอกบัวขาวบางเหล่าซึ่งเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ
จมอยู่ในน้ำ น้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำ
เย็นตลอดยอดตลอดเหง้า ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งดอกบัวขาบ ดอกบัวหลวง
หรือดอกบัวขาวทั่วทุกส่วน ที่น้ำเย็นจะไม่พึงถูกต้อง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
แล ย่อมทำกายนี้แหละให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มซาบซ่านด้วยสุขปราศจากปีติ ไม่มี
เอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่สุขปราศจากปีติจะไม่ถูกต้อง.
[346] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่
มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อน ๆ ได้ มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละ ด้วยใจอันบริสุทธิ์
ผ่องแผ้ว ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัวที่ใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะ
ไม่ถูกต้อง ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงนั่งคลุมตัวตลอดศีรษะด้วย
ผ้าขาว ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายทุก ๆ ส่วนของเขาที่ผ้าขาวจะไม่ถูกต้อง
ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เธอนั่งแผ่ไปทั่วกายนี้แหละด้วยใจบริสุทธิ์ผ่องแผ้ว
ไม่มีเอกเทศไหน ๆ แห่งกายของเธอทั่วทั้งตัว ที่ใจอันบริสุทธิ์ผ่องแผ้วจะไม่
ถูกต้อง.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วเจริญฌาน
สี่นั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[347] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของ

เรานี้แลมีรูปประกอบด้วยมหาภูต 4 เกิดแต่บิดามารดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุก
และขนมสดไม่เที่ยง ต้องอบ ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็น
ธรรมดาและวิญญาณของเรานี้ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้ ดูก่อนอุทายี
เปรียบเหมือนแก้วไพฑูรย์อันงาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ 8 เหลี่ยม นายช่างเจีย-
ระไนดีแล้ว สุกไส แวววาว สมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล
ร้อยอยู่ในนั้น บุรุษมีจักษุจะพึงหยิบแก้วไพฑูรย์นั้นวางไว้ในมือแล้วพิจารณา
เห็นว่า แก้วไพฑูรย์นี้งาม เกิดเองอย่างบริสุทธิ์ 8 เหลี่ยม นายช่างเจียระไน
ดีแล้ว สุกใส แวววาวสมส่วนทุกอย่าง มีด้ายเขียวเหลืองแดงขาวหรือนวล
ร้อยอยู่ในนั้นฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้น ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เรา
บอกแล้ว ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายของเรานี้แลมีรูป ประกอบด้วยมหาภูต 4
เกิดแต่มารดาบิดา เติบโตขึ้นด้วยข้าวสุกและขนมสด ไม่เที่ยง ต้องอบ ต้อง
นวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา และวิญญาณของเรานี้
ก็อาศัยอยู่ในกายนี้ เนื่องอยู่ในกายนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อม
รู้ชัดอย่างนี้แล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมี อันเป็นที่สุดแห่ง
อภิญญาอยู่.
[348] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกาย
นี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ดูก่อน
อุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักไส้ออกจากหญ้าปล้อง เขาจะพึงคิดเห็นอย่าง
นี้ว่า นี้ไส้ นี้หญ้าปล้อง หญ้าปล้องก็อย่างหนึ่ง ไส้ก็อย่างหนึ่ง ก็แต่ไส้ชักออก
จากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักดาบออกจากฝัก

เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบก็อย่างหนึ่ง ฝักก็อย่างหนึ่ง ก็แต่
ชักดาบออกจากฝักนั่นเอง อีกนัยหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงชักงูออกจาก
คราบ เขาพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า นี้งู นี้คราบ งูก็อย่างหนึ่ง คราบก็อย่างหนึ่ง
ก็แต่งูชักออกจากคราบนั่นเอง ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติ
ตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมนิรมิตกายอื่นจากกายนี้ มีรูปเกิดแต่ใจ มี
อวัยวะน้อยใหญ่ครบถ้วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเรา ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกนั้นแล สาวก
ของเราเป็นอันมากจึงบรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[349] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวกทั้ง
หลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิวิธีหลายประ-
การ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้
ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุด
ขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในนี้ก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน
ก็ได้ เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์
มีอานุภาพมากด้วยฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ดูก่อน
อุทายี เปรียบเหมือนช่างหม้อหรือลูกมือของช่างหม้อผู้ฉลาด เมื่อนวดดินดี
แล้ว ต้องการภาชนะชนิดใดๆ พึงทำภาชนะชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง
เปรียบเหมือนช่างงา หรือลูกมือของช่างงาผู้ฉลาด เมื่อแต่งงาดีแล้ว ต้องการ
เครื่องงาชนิดใด ๆ พึงทำเครื่องงาชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ อีกนัยหนึ่ง เปรียบ
เหมือนช่างทองหรือลูกมือของช่างทองผู้ฉลาด เมื่อหลอมทองดีแล้ว ต้องการ
ทองรูปพรรณชนิดใด พึงทำทองรูปพรรณชนิดนั้นๆ ให้สำเร็จได้ฉันใด สาวก
ทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมบรรลุอิทธิ-

วิธีหลายประการ คือคนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้
ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด เหมือน
ในน้ำก็ได้ เดินบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ
เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์ พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมาก ด้วย
ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ก็เพราะสาวกทั้งหลาย
ของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้
บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[350] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมได้ยินเสียง 2 ชนิด
คือเสียงทิพย์ และเสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์
ล่วงโสตของมนุษย์ ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษเป่าสังข์ผู้มีกำลัง จะพึง
ยังคนให้รู้ตลอดทิศทั้งสี่โดยไม่ยากฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล
ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมได้ยินเสียง 2 ชนิด คือเสียงทิพย์และ
เสียงมนุษย์ทั้งที่อยู่ไกลและใกล้ ด้วยทิพโสตธาตุอันบริสุทธิ์ ล่วงโสตของ
มนุษย์.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[351] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมกำหนดรู้ใจของสัตว์อื่น
ของบุคคลอื่นด้วยใจ คือจิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้
ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่า
จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต

ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหัคตะก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคตะ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคตะ
จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า. ก็รู้ว่าจิตไม่
จิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิต
ไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด
พ้น ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนหญิงสาวชายหนุ่มที่ชอบการแต่งตัว เมื่อส่องดู
เงาหน้าของตนในกระจกอันบริสุทธิ์สะอาด หรือภาชนะน้ำอันใส หน้ามีไฝ
ก็จะพึงรู้ว่าหน้ามีไฝ หรือหน้าไม่มีไฝ ก็จะพึงรู้ว่าหน้าไม่มีไฝ ฉันใด สาวก
ทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมกำหนดรู้ใจ
ของสัตว์อื่นของบุคคลอื่นด้วยใจ คือ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศ
จากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศ
จากโทสะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศ
จากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ก็รู้ว่าจิตหดหู่ หรือจิตฟุ้งซ่าน
ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็นมหัคตะ ก็รู้ว่าจิตเป็นมหัคตะ หรือจิตไม่เป็นมหัคตะ
ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหัคตะ จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่
มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ
จิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้นก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิต
ไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุดพ้น.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[352] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็น

อันมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้า
ชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบ
ชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอัน
มากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า
ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหาร
อย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจาก
ภพนั้น ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่าง
นั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้น ๆ มี
กำหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อม
ระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมากพร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการ
ฉะนี้ ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนบุรุษจะพึงจากบ้านตนไปบ้านอื่น แล้วจาก
บ้านแม้นั้นไปยังบ้านอื่นอีก จากบ้านนั้นกลับมาสู่บ้านของตนตามเดิม เขาจะ
พึงระลึกได้อย่างนี้ว่า เราได้จากบ้านของเราไปบ้านโน้น ในบ้านนั้นเราได้ยืน
อย่างนั้น ได้นั่งอย่างนั้น ได้พูดอย่างนั้น ได้นิ่งอย่างนั้น แล้วเรากลับจาก
บ้านนั้นมาสู่บ้านของตนตามเดิม ดังนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเรา ก็ฉัน
นั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก
คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็น
อันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[353] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ

กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก
ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไป
ตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต
ติเตียนพระอริยเจ้าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้อง
หน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์
เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า
เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือน
เรือนสองหลังที่มีประตูร่วมกัน บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ตรงกลางเรือนนั้น จะพึง
เห็นหมู่ชนกำลังเข้าไปบ้าง กำลังเดินวนเวียนอยู่ที่เรือนบ้าง ฉันใด สาวก
ทั้งหลายของเราก็ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมเห็นหมู่สัตว์
กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี
ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์
ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[354] ดูก่อนอุทายี อีกประการหนึ่ง เราได้บอกปฏิปทาแก่สาวก
ทั้งหลายแล้ว สาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตนอง
ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ ดูก่อนอุทายี เปรียบเหมือนสระน้ำบนยอดเขา ใสสะอาด
ไม่ขุ่นมัว บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่บนขอบสระนั้น จะพึงเห็นหอยโข่งและหอยกาบ
ต่าง ๆ บ้าง ก้อนกรวดและก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง กำลังว่ายอยู่บ้าง หยุด

อยู่บ้าง ในสระน้ำนั้น เขาจะพึงคิดเห็นอย่างนี้ว่า สระน้ำนี้ใสสะอาดไม่ขุ่นมัว
หอยโข่งและหอยกาบต่าง ๆ บ้าง ก้อนหินบ้าง ฝูงปลาบ้าง เหล่านี้ กำลัง
ว่ายอยู่บ้าง หยุดอยู่บ้าง ในสระนั้นดังนี้ ฉันใด สาวกทั้งหลายของเราก็
ฉันนั้นแล ปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้ว ย่อมทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งของตน
เองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
ก็เพราะสาวกทั้งหลายของเราปฏิบัติตามปฏิปทาที่เราบอกแล้วนั้นแล
สาวกของเราเป็นอันมากจึงได้บรรลุบารมีอันเป็นที่สุดแห่งอภิญญาอยู่.
[355] ดูก่อนอุทายี นี้แลธรรมข้อที่ห้าอันเป็นเหตุให้สาวกทั้งหลาย
ของเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่.
ดูก่อนอุทายี ธรรมห้าประการนี้แล เป็นเหตุให้สาวกทั้งหลายของเรา
สักการะ เคารพ นับถือ บูชา แล้วพึ่งเราอยู่ ฉะนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว สกุลุทายีปริพาชกยินดี
ชื่นชมพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.
จบมหาสกุลุทายิสูตรที่ 7

7. อรรถกถามหาสกุลุทายิสูตร


มหาสุกุลุทายิสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้
สดับมาอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้นบทว่า โมรนิวาเป คือในที่นั้นชนทั้งหลายได้
ประกาศให้อภัยแก่นกยูงทั้งหลายแล้วได้ให้อาหาร. เพราะฉะนั้นที่นั้นจึงชื่อว่า